วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

แนะนำตัว

นางสาวณัฐชญา  ศิริรัตนพฤกษ์
ทันตแพทยศาสตร์  5409010011
นางสาวนัททิกา  วรรณศรีจันทร์
ทันตแพทยศาสตร์  5409010014
นางสาวศิวาพักตร์  ตันตระกูล
ทันตแพทยศาสตร์  5409010035

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคฝีดาษ Smallpox

         โรคฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก poxvirus มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี 2504องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี ค.ศ 1970 แต่ที่มีความกังวลว่า จะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ในสงคราม ประเทศรัสเซียได้มีการพัฒนาเชื้อชนิดนี้ไว้ใช้ในสงคราม เมื่อประเทศรัสเซียล่มสลายคาดว่าจะมีการเล็ดรอดของเชื้อนี้ไปยังประเทศอื่น
โรคฝีดาษกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลาย เนื่องโรคนี้ได้ถูกนำมาใช้ในสงครามเชื้อโรค จนกระทั่งประเทศอเมริกาได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชาน สำหรับประเทศไทยแม้ว่ายังห่างไกลจากแหล่งที่คาดว่าจะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ แต่ก็ไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท เนื่องปัจจุบันการเดินทางของคนไม่มีขอบเขตจำกัดทำให้อาจจะมีการระบาดมาถึงประเทศไทย จึงควรที่จะเรียนรู้รู้นี้ไว้
สาเหตุ
เป็นไวรัส DNA เชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษมี 2 ชนิดคือ variolar majorทำให้เกิดโรคฝีดาษซึ่งมีอาการรุนแรงและมีอัตราการตายสูงประมาณ1ใน3 variolar minor ทำให้เกิดโรค alastrim ซึ่งอาการไม่รุนแรงเท่า และอัตราการตายต่ำ เชื้ออยู่ในสะเก็ดได้เป็นปี เชื้อถูกฆ่าตายที่อุณหภูมิ 60 องศา.ซ นาน 10 นาที
การติดต่อ
เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่การติดต่อไม่ง่ายเท่าในโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ มักจะต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไอ จาม หรือแม้ขณะพูดจะมีเชื้อแพร่ออกมาทางอากาศ และผู้ติดโรคจะหายใจเอาเชื้อเข้าไป นอกจากนี้อาจจะติดต่อโดยการได้รับเชื้อซึ่งอยู่ในเสื้อผ้าหรือที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีผื่น
อาการของโร
ระยะฟักตัวค่อนข้างจะคงที่ จากการติดเชื้อจนมีอาการกินเวลา 7-17วันและเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน แต่อาจจะเร็วถึง 9 วันหรือนานถึง 21 วันหลังจากระยะฟักตัวก็จะเกิด
อาการนำ เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
ระยะออกผื่น ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้าหน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
โรคแทรกซ้อน
  • ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  • ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  • กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  • ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  • ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคอาศัยทั้งประวัติและการตรวจร่างกาย
  • ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยา ในรายที่อาการตรงไปตรงมา
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • การวินิจฉัยทางไวรัสวิทยา      

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic cezema)


โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic cezema) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง อุบัติการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง พบประมาณร้อยละ 4.3 ของผู้ป่วยเด็กที่มารับการตรวจที่ โรงพยาบาล เป็นโรคที่เกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ การเกิดโรคในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ไปบ้างตามเชื้อชาติ และสภาพแวดล้อม ผู้ป่วยโรคภูมิผิวหนังมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปตามอายุ ความรุนแรง ของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ได้รับ การถ่ายทอดมา ว่ามีความผิดปกติมากหรือน้อย และยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัวของ ผู้ป่วยด้วย

ลักษณะอาการของโรค คือ
1. คันตามผิวหนังมาก ทั้งๆ ที่ผิวหนังไม่มีผื่นอะไร อาการคันมักเป็นมากในเวลา กลางคืน จนรบกวนการนอนของผู้ป่วยและคนใกล้เคียง
2. เป็นผื่นหรือตุ่มใสเล็กๆ เหมือนมีน้ำอยู่ในภายใน หรือเป็นปื้นหนาเห็นร่องของ ผิวหนังชัดเจนหรืออาจเป็นขุยลอกเป็นหย่อมๆ
3. การกระจายของผื่นมักจะอยู่ในตำแหน่งที่จำเพาะ เช่น บริเวณข้อพับต่างๆ ของ ร่างกาย,    แก้ม, ด้านนอกของแขน
4. อาการดังกล่าวจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง และกำเริบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง, อากาศหนาวเย็น, แห้งหรือร้อน
5. มีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก หอบ หืด ของคนในครอบครัวหรือตัวผู้ป่วยเอง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีลักษณะบางอย่างที่ชวนให้สงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ลักษณะเหล่านี้ได้แก่ ขอบรอบตาสีเข้มขึ้น, ขอบตาล่างเป็นกระเปาะ, ริมฝีปากบนอักเสบ แดงเป็นขุย หรือมุมปากอักเสบเป็นๆ หายๆ โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจึงมีคำถามว่า ผู้ป่วยจะเริ่ม มีอาการเมื่อใด ? คำตอบคือ อาการและอาการแสดงของโรคส่วนใหญ่เริ่มปรากฏตั้งแต่วัยเด็ก
จาก การศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ร้อยละ 60 เริ่มมีอาการในขวบปีแรก โดยผู้ป่วย ที่เริ่มเป็นในขวบปีแรก ผื่นมักเกิดที่แก้ม 2 ข้าง เพราะเด็กนอนคว่ำ ใบหน้าจึงถูกับที่นอน ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง และร้อยละ 85 แสดงอาการใน 5 ปีแรก โดยผู้ป่วยที่เริ่มเป็นในวัย 1-5 ปี ผื่นจะเกิดที่บริเวณแขนขาด้านนอก เพราะเด็กวัยนี้คลาน และเดินได้แล้ว ผื่นผิวหนังอักเสบจะส่วนใหญ่จึงเกิดที่แขนขาด้านนอกบริเวณที่มีการ เสียดสี ส่วนร้อยละ 15 เริ่มมีอาการเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวหรือเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบจะเกิดที่ข้อพับ, แขน, ขา และลำคอ บ่อยกว่าบริเวณใบหน้า ซึ่งผู้ที่มีผื่น ผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ในตำแหน่งดังกล่าว ร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุอื่นๆ ของคนในครอบครัวหรือตัวผู้ป่วยเอง ควรสงสัยว่าผู้ป่วยเป็น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

ปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิเเพ้ผิวหนังกำเริบ
1. จิตใจที่วิตกกังวล เครียด อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นมัว แพทย์แผนปัจจุบันยอมรับ ว่าจิตใจผู้ป่วยมีอิทธิพลต่อโรคและความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ มีผลทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคันตามผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผื่นผิวหนัง การอักเสบของ ผิวหนังจะเป็นมากขึ้น เกิดเป็นวงจรร้ายที่ทำให้การอักเสบของผื่นผิวหนังไม่หาย
2. ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
2.1 สิ่งมีชีวิตรอบตัวผู้ป่วย สิ่งมีชีวิตรอบตัวผู้ป่วยบางชนิดทำให้โรคของผู้ป่วย กำเริบได้ ทั้งนี้รวมถึงเชื้อโรคบนผิวหนังผู้ป่วยด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนังมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยเป็นไข้หวัด โรคติดเชื้อส่า โรคกลาก และโรคติดเชื้อแบคทีเรีย มีผู้ทำการศึกษาดูจำนวนเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังของผู้ป่วยโรค ภูมิแพ้ผิวหนังพบเชื้อแสต็ฟไฟโลคอคัสถึง 90% ในขณะที่คนปกติพบเชื้อชนิดนี้เพียง 5% เท่านั้น หลักฐานทางห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่า เชื้อต่างๆ เหล่านี้ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบได้ สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ เช่น หมา, แมว, นก, ไก่ รวมทั้งแมลงชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่บน ตัวของสัตว์เลี้ยง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ของผู้ป่วยกำเริบ บุคคลที่ ใกล้ชิดผู้ป่วย ได้แก่ บิดา มารดา พี่น้อย สามี ภรรยา บุคคลเหล่านี้มีบทบาททั้งทางตรงและ ทางอ้อมต่อโรคของผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ ไม่แสดงท่า รังเกียจ หรือกระทำใดๆ อันจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้แก่ผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทาง อ้อม เพราะจะเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบ
2.2 อาหาร เป็นเรื่องที่เชื่อกันมานานว่าอาหารเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบ อาหารเหล่านี้ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์บางชนิด ไข่ นม เป็นต้น จากผลการ ศึกษาทดลองโดยให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังรับประทานอาหารที่สงสัยว่า เป็นปัจจัยที่ กระตุ้นให้โรคกำเริบ พบว่าร้อยละ 63 ของผู้ป่วยมีอาการของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้น ชนิด อาหารที่กระตุ้นให้โรคกำเริบได้แก่ ไข่ ถั่ว นม ปลา ซีอิ๊ว และข้าวสาลี จากการติดตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไป 1-2 ปี ภายหลังจากหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ พบว่าร้อยละ 42 ของผู้ป่วยหายจากการแพ้อาหารที่เคยแพ้ และการทดสอบทางผิวหนังทุกชนิดไม่สามารถ บอกได้ว่าผู้ป่วยแพ้อาหารอะไร วิธีการที่ดีที่สุดวิธีเดียวคือ ทดลองให้ผู้ป่วยรับประทาน อาหารที่สงสัยว่าแพ้แล้วติดตามดูว่าเกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบขึ้นหรือไม่
2.3 สารเคมี เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้ สารเคมีที่ ผู้ป่วยต้องเกี่ยวข้องด้วยบ่อยๆ ได้แก่ สบู่ ดีเตอร์เจนต่างๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถ้าผู้ป่วยต้องสัมผัสบ่อยๆ และนาน อาจระคายเคืองต่อผิวหนังได้ สำหรับ สบู่ที่ผู้ป่วยใช้ชำระร่างกาย ควรเลือกชนิดที่มีความเป็นด่างน้อยๆ หรือใช้สบู่พิเศษสำหรับ ผิวหนังที่ไว เป็นต้น เด็กบางคนที่ชอบว่ายน้ำ คลอรีนในสระว่ายน้ำ อาจระคายเคืองต่อ ผิวหนังของเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการลงสระว่าย น้ำที่เพิ่งเปลี่ยนน้ำและใส่คลอรีนใหม่ๆ เพราะความเข้มข้นของคลอรีนในระยะนั้นจะสูง การอาบน้ำชำระร่างกายของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ ร้อนเกินไป เพราะน้ำที่ร้อนชะล้างไขมันบนผิวหนังของผู้ป่วยไปได้มาก ทำให้ผิวหนัง แห้ง และเกิดอาการคันได้ง่าย ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ จากการศึกษาพบ ว่าไรในฝุ่นบ้าน, สารก่อภูมิจากสัตว์เลี้ยง, เชื้อราในอากาศ สามารถกระตุ้นให้ผื่นผิวหนัง ของผู้ป่วยเห่อได้ กลไกที่สารเหล่านี้ทำให้โรคกำเริบยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ว่าผ่านทาง ระบบทางเดินลมหายใจ หรือผ่านเข้าสู่ผิวหนังโดยตรง
2.4 ปัจจัยทางฟิสิกส์ ได้แก่ อุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลงมากๆ ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว ทำให้โรคภูมิแพ้ผิวหนัง กำเริบได้ สังเกตได้ว่าทั้งในฤดูร้อนและหนาวโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักกำเริบ เกิดผื่นคันแดง ในบริเวณข้อพับหรือบริเวณนอกร่มผ้า ความชื้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในบรรยากาศ สามารถกระตุ้นให้โรค ภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้ ถ้าความชื้นในอากาศมากเหงื่อของผู้ป่วยจะไม่ระเหย ทำให้เกิด ความอับชื้นของผิวหนังบริเวณข้อพับต่างๆ ผิวหนังบริเวณข้อพับก็เกิดอักเสบได้ง่าย ในทางตรงข้ามความชื้นในอากาศลดลง เช่น ในฤดูหนาว ผิวหนังเสียน้ำให้กับอากาศ รอบตัวมากกว่าปกติ ผิวหนังของผู้ป่วยจะแห้งเกิดการอักเสบระคายและคันง่าย แสงแดด โดยปกติแสงแดดยามเช้ามีประโยชน์ต่อผิวหนังและสุขภาพ แต่แสงแดด ที่จัดมาก จะระคายผิวหนังของผู้ป่วย ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดดได้ เหงื่อ เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทั้งนี้เพราะ เหงื่อทำให้ผิวหนังเปียกชื้น และดูดซับฝุ่นละอองจากอากาศได้ง่าย นอกจากนี้การออก เหงื่อมักเกิดในสภาพที่อากาศร้อน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมเหงื่อร่วมด้วย เหงื่อจะถูกดูดซึมเข้าไปในผิวหนัง ก่อการระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดผดผื่นคัน ผู้ป่วยจะ แกะเกาผิวหนังบริเวณนั้นเกิดผื่นผิวหนังอักเสบเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง
1. ระยะที่เกิดการอักเสบของผิวหนัง เป็นระยะที่ผิวหนังของผู้ป่วยทนต่อสภาพแวดล้อมไม่ได้แล้ว จึงเกิดอาการอักเสบบวม แดงเป็นขุย หรือมีน้ำเหลืองเยิ้ม ร่วมกับการมีอาการคันมาก การแกะเกาของผู้ป่วย เป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวหนังอักเสบเพิ่มมากขึ้น ถ้าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนผิวหนังผู้ป่วย เข้าซ้ำเติม จะทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อหนอง ที่เรียกว่า ไฟลามทุ่ง การดูแล รักษาขึ้นอยู่กับสภาพของผิวหนังผู้ป่วยในขณะนั้น
ระยะผิวหนังอักเสบเป็นหนอง ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ แบคทีเรียโดยเร็ว ยาแก้คันและยาลดไข้แก้ปวดจะช่วยลดอาการคัน และอาการไข้ของ ผู้ป่วย ผิวหนังที่มีน้ำเหลืองเยิ้มต้องใช้น้ำเกลือเช็ดล้างน้ำเหลืองออกบ่อยๆ เพื่อช่วยลด อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรียจะถูกกำจัดไปด้วยาปฏิชีวนะภายใน 5-7 วัน ต่อจากนั้นจึงพิจารณาให้ยากดภูมิแพ้กลุ่มสเตียรอยด์ ทั้งชนิดรับประทานและ ชนิดทา
ระยะผิวหนังอักเสบแดงมีน้ำเหลืองเยิ้มแต่ไม่มีหนองระยะนี้ควรใช้ยากลุ่มสเตีย รอยด์ชนิดรับประทาน ร่วมกับน้ำเกลือชะแผลบ่อยๆ จึงใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทา ทาผื่น ผิวหนังวันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้ามีอาการคันควรให้รับประทานยาแก้ คัน กลุ่มยาต้านฮีสตามีนร่วมด้วย เพื่อลดอาการคัน
ระยะผิวหนังอักเสบแดงเป็นขุยไม่มีน้ำเหลือง ระยะนี้การใช้ยาทาเฉพาะที่กลุ่ม สเตียรอยด์ สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ในขณะที่ผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรงควร ปรึกษาแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาปรับยาให้เหมาะกับอาการของโรค เนื่องจากยาที่ ใช้มีผลข้างเคียงสูง การใช้ยาจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ระยะที่การอักเสบของ ผิวหนังไม่รุนแรง การใช้ยาแก้คันกลุ่มยาต้านฮีสตามีนร่วมกับยาสเตียรอยด์ชนิดทา อาจควบคุมอาการอักเสบของผิวหนังได้
เนื่องจากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มักมีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ยาแก้คันกลุ่มยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ดังนั้นทั้งผู้ป่วยและผู้อยู่ใกล้ชิดควรหาความรู้เรื่องยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตีย- รอยด์ โดยสามารถสอบถามจากแพทย์ดูแลรักษา หรือหาซื้อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ในที่นี้ จะกล่าวถึงยา 2 กลุ่มนี้พอสังเขป
ยาต้านฮีสตามีน เป็นยาสามัญประจำบ้านชนิดหนึ่งมีฤทธิ์ แก้แพ้ แก้คัน และลด น้ำมูก เนื่องจากฤทธิ์ของยากว้างขวางมาก จึงมีการนำยานี้มาใช้รักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคไข้หวัด โรคลมพิษ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก และโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
1. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมมาก ยากลุ่มนี้มีใช้ในวงการแพทย์มานาน ฤทธิ์ของยาเหมือนกัน คือ ลดน้ำมูก แก้คัน แก้แพ้ ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบได้บ่อย แต่มิได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ฤทธิ์ในการลดน้ำ มูกและแก้คันดีมาก ราคาถูก ผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่นพบน้อย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังควร ใช้ยาชนิดนี้ระงับอาการคันก่อน ถ้าพบมีอาการง่วงซึมมาก ให้เปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮีสตา- มีนในกลุ่มที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Chlorpheniramine มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ฤทธิ์ในการแก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูกดีมาก ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบได้บ่อย ผู้ป่วยที่รับประทานยาชนิดนี้ แล้วต้องระมัดระวังในการขับรถหรือควบคุมเครื่องยนต์ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เด็กๆ ที่รับประทานยานี้แล้วอาจมีอาการง่วงนอน ทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง ผลข้าง เคียงนี้มิได้พบในผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ควรสังเกตว่าตัวเองมีอาการข้าง เคียงดังกล่าวหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่มีหรือมีน้อยและไม่รบกวนการเรียนและการทำงานก็ สามารถจะใช้ยานี้ระงับอาการคันจากโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ ถ้าอาการข้างเคียงมีมากจน ไม่สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ก็ควรเปลี่ยนไปใช้ยาขนานอื่นโดยปรึกษาแพทย์  Brompheniramine เป็นยาต้านฮีสตามีนในกลุ่มเดียวกับ Chlorpheniramine แต่อาการข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบน้อยกว่าราคาถูกพอๆ กัน ขนาดที่ใช้ ผู้ใหญ่ให้รับประ- ทาน 1 เม็ด (4 มก.) วันละ 2-4 ครั้ง ห่างกัน 6 ซม. ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีอาการคันมากหรือ น้อย
2. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้ ได้รับการ พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้มีผลข้างเคียงง่วงน้อยลง ฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ในการลดน้ำมูก แก้คัน ใกล้เคียงกับยากลุ่มแรก ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบน้อย แต่ยังพบได้ในผู้ป่วยบางราย ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้ คือ ราคาสูงกว่ากลุ่มแรก 20-30 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงควรลองใช้ยาใน กลุ่มแรกก่อน ถ้ามีผลข้างเคียงจึงเปลี่ยนมาใช้ยากลุ่มหลัง ยากลุ่มนี้มีหลายตัว อาทิ astemzole, terfenadine และ loratadine ขนาดของยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน ผู้ป่วยควร ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลว่าน่าจะใช้ยาชนิดใดในขนาดเท่าใด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยานี้มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง โดยการกดระบบ ภูมิคุ้มกัน ทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัว ยาทาสเตียรอยด์ใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค มีหลายชนิดแบ่งตามระดับความแรงของยาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ อ่อน ปานกลาง แรง และแรงมาก สำหรับชาวบ้านทั่วไปไม่แนะนำให้ซื้อยาทาสเตีย- รอยด์ใช้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายจากผลข้างเคียงของยาได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนังมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควบคุมและรักษาอาการอักเสบของผิวหนังเป็นระยะ เวลานาน จึงขอแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติพี่น้องเรียนรู้การใช้ยานี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฤทธิ์ อ่อน และควรหายานี้ติดไว้ในบ้าน เมื่อเกิดอาการผิวหนังอักเสบ แดงคันเล็กๆ น้อยๆ ผู้ป่วยสามารถใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดอ่อน รักษาผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่จำ เป็นต้องไปพบแพทย์ทุกครั้ง ถ้าผื่นยุบลงและหายไปให้ทายาต่ออีก 1 วัน ถ้าอาการผื่นผิว หนังอักเสบไม่ดีขึ้น 2-3 วัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ต่อไป ผลข้างเคียงของยาทาสเตียรอยด์ที่พบบ่อยๆ คือ ผิวหนังบางลง, ผิวหนังแตก, เกิดการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดดวงขาวในตำแหน่งที่ทายา เป็นต้น ผู้ป่วยต้องสังเกตผิวหนังบริเวณที่ยาทาเสมอๆ ถ้าสงสัยว่าจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรหยุดยาแล้วไปปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแล
2. ระยะที่ไม่มีการอักเสบของผิวหนัง เป็นระยะที่ผิวหนังของผู้ป่วยไม่มี อาการอักเสบให้เห็น แต่ผิวหนังผู้ป่วยยังคงไวต่อสิ่งกระตุ้นอยู่ ถ้าผู้ป่วยมีอาการคันบน ผิวหนังปกติ ควรรับประทานยาแก้คันติดต่อกันอีกจนกว่าจะไม่มีอาการคันเหลืออยู่ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคกำเริบด้วย เพื่อป้องกันการเกิด ผิวหนังอักเสบซ้ำซาก
การป้องกันการเกิดผิวหนังอักเสบ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มีผิวหนังที่อ่อนแอทนต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวได้น้อย กว่าคนปกติ การแก้ไขคุณลักษณะของผิวหนังผู้ป่วย ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดา นั้นทำไม่ได้ ดังนั้นแนวทางในการดูแลรักษาและป้องกันไม่ให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดการ อักเสบบ่อยๆ คือ การควบคุมและหลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ระคายต่อผิวหนัง ผู้ป่วย มีหลักและแนวปฏิบัติดังนี้
1. ทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหวังพึ่งแพทย์และยา แต่กลับมองข้ามปัจจัย สำคัญคือ จิตใจของตนเอง ผู้ป่วยควรหาความรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติของโรค เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วจะทำให้ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ แต่ไม่ใช่ยอมแพ้ ควรฝึกหัดบังคับ จิตใจของตนเองให้สงบเย็นอยู่เสมอ พยายามไม่ให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ไม่รุ่มร้อนหรือ โกรธง่าย ไม่ทำร้ายผิวหนังของตนเองด้วยการแกะเกา ขีดข่วน จิตใจที่สงบเย็นจะช่วยลด ความตึงเครียดทั้งทางกายและทางใจ ลดการออกเหงื่อทำให้อาการคันลดลง การรับประ- ทานยาต้านฮีสตามีน เพื่อลดอาการคันร่วมกับการฝึกหัดจิตใจ ช่วยลดอาการคันของ ผู้ป่วยได้อย่างมาก

2. สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยที่ต้องการพิจารณา มีดังนี้
เสื้อผ้า ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนามีขน (wool) เพราะทำให้เกิดอาการ คันและผิวหนังอักเสบได้ง่าย
สบู่ ควรเลือกใช้สบู่ที่ไม่เป็นด่างมากนัก หรือใช้สบู่พิเศษที่ทำไว้สำหรับผู้ป่วยที่มี ผิวหนังแพ้ง่าย การอาบน้ำไม่ควรฟอกสบู่มากจนเกินไป เพราะทำให้ไขมันบนผิวหนังลด น้อยลง ในรายที่ผิวหนังเกิดการอักเสบมากควรงดการใช้สบู่ แล้วใช้น้ำเกลือเช็ดล้างน้ำ เหลืองบนผิวหนังที่อักเสบออกเพื่อป้องกันการกระจายของผื่นผิวหนังอักเสบ
อาหาร ดังได้กล่าวในตอนต้นว่า อาหารบางชนิดอาจทำให้ผื่นผิวหนังกำเริบได้ ผู้ป่วยและบิดามารดาของผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ควรสังเกตว่าอาการผิวหนังอักเสบกำเริบมากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารชนิดใด โดยเฉพาะอาหารประเภท ไข่, ซีอิ๊ว, ปลา เป็นต้น ถ้าพบ ความสัมพันธ์ดังกล่าวชัดเจน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนั้นเสีย
กีฬา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้ แต่ควรเลือก กีฬาให้เหมาะสมกับตัวเอง กีฬาที่ออกเหงื่อมาก แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันมากๆ ไม่เหมาะสม กับผู้ป่วย กีฬาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง คือ กีฬาว่ายน้ำ เพราะผิวหนังผู้ป่วยอยู่ ในสภาพเย็น ออกเหงื่อไม่มากเหมือนกีฬากลางแจ้งอื่นๆ แต่ความหลีกเลี่ยงการลงสระน้ำ ในขณะที่เพิ่งเปลี่ยนน้ำใหม่ เพราะเป็นเวลาที่คลอรีนในสระน้ำมีความเข้มข้นสูง อาจระ- คายผิวหนังผู้ป่วย และเมื่อขึ้นจากสระน้ำแล้วควรรีบอาบน้ำชำระร่างกาย ชะโลมผิวหนัง ด้วยน้ำมันหรือวาสลีน เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง มิฉะนั้นอาจเกิดอาการคัน และ ผิวหนังอักเสบจากผิวหนังที่แห้งได้
การงาน หน้าที่การงานบางอย่างที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี หรือสภาพแวดล้อมที่ รุนแรงทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดอาการผิวหนังอักเสบกำเริบได้ จึงควรพิจารณา เลือกงานให้เหมาะสมกับตนเองถ้าสามารถทำได้ แต่กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพิจารณา ปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมหรือหาเครื่องป้องกันต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ ทำงานต่อไปได้
ผู้ที่สามารถปฏิบัติตัวได้ดี อาการผิวหนังอักเสบจะเกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย โดยธรรมชาติแล้วผิวหนังของผู้ป่วยสามารถที่จะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก อาการผิวหนังอักเสบจะดีขึ้นและไม่มีอาการเมื่อผู้ป่วย อายุมากขึ้น 
ที่มา
นพ.ป่วน สุทธพินิจธรรม, ภาควิชจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. "ลมพิษ."สารพันปัญหาผิวพรรณ ฉบับพิเศษประชาชาติธุรกิจ.(จุลสาร)

ผมร่วง

ลักษณะทั่วไปของ ผมร่วง ผมบาง


ผมร่วง ผมบาง เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก กรรมพันธ์ หรือมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคมะเร็ง, โรคเอสแอลดี, โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคทางต่อมไทรอยด์, โรคไทฟอยด์, โรคซิฟิลิส, โรคไต เป็นต้น



สาเหตุที่พบบ่อย และวิธีการรักษา

1. ผมร่วง จากกรรมพันธุ์
ส่วนใหญ่มักจะพบในเพศชาย รากผม มีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ เส้นผม มีอายุสั้นกว่าปกติ และ เส้นผม ที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลง เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้บริเวณนั้นดู ผมบาง ลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะ และหน้าผาก เริ่มสังเกตได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป และจะเห็นชัดมากขึ้น ส่วนผู้หญิง มักจะเริ่มแสดงอาการหลังวัยหมดประจำเดือน ทำให้ดู ผมบาง ลง
วิธีการรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ป้องกันและรักษาที่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ยาส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น minoxidill, finastericde หรือ dutasteride ยาเหล่านี้ เมื่อหยุดใช้ ผม ก็จะกลับมาร่วงอีก การรักษาส่วนใหญ่ จึงควรจะเป็นการรักษาด้านกายภาพซึ่งจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผมร่วง ผมบาง ให้กลับมาดีขึ้นได้ และชะลอการ หลุดร่วง ของ เส้นผม

2. ผมร่วง ตามธรรมชาติ
โดยปกติแล้ว เส้นผม ของคนเรามีประมาณ 80,000 - 1,200,000 เส้น จะมีประมาณ 85-90% ที่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญงอกงาม และยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร และมีอายุนาน 2-6 ปีโดยปกติคินเราจะมี ผมร่วง เป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30-50 เส้น ซึ่งถือว่าเป็น ผมร่วง ตามธรรมชาติ หลังจากนั้นก็มีเส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทน วนเวียนไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเซลล์ของผิวหนังที่มีบางส่วนที่ตาย และหลุดลอกออกมาเป็นขี้ไคลทุกวัน
วิธีการรักษา
อย่าวิตกกังวลมากเกินไป ลองสังเกตอาการดูซักระยะ ถ้าไม่ดีขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ ดูว่าเป็นโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ผมร่วง หรือไม่

3. ผมร่วง จากโรคอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสเอลอี , โรคมะเร็ง, โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคทางต่อมไทรอยด์, โรคไทฟอยด์, โรคซิฟิลิส, โรคไต เป็นต้น ก็อาจมีอาการ ผมร่วง ผมบาง ร่วมกับ อาการของโรคเหล่านี้ เช่น เป็นไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
วิธีการรักษา
สำหรับโรคซิฟิลิส หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือดหา วีดีอาร์แอล (VDRL) ถ้าเป็นโรคนี้จริง ควรให้การรักษาแบบซิฟิลิส ระยะที่ 2 (ดูโรคที่ ซิฟิลิส) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักทำให้กลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3 ซึ่งเป็นอันตรายได้

4. ผมร่วง จากยาและการฉายรังสี
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการ ผมร่วง มีอยู่หลายชนิด เช่น ยารักษามะเร็ง, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (Heparin), ยารักษาคอพอกเป็นพิษ, ยาคุมกำเนิด,คอลชิซีน, อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ซึ่งใช้ป้องกันโรคเกาต์, แอมเฟตามีน (Amphetamine) เป็นต้น นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ก็อาจทำให้ ผมร่วง ได้
วิธีการรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม

5. ผมร่วง จากเชื้อรา
โรคเชื้อราที่ศีรษะ (กลากที่ศีรษะ) อาจพบได้บ่อยในเด็ก แต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกาย โรคนี้ทำให้ ผมร่วง เป็นหย่อม ๆ คล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุ แต่จะมีลักษณะขึ้น เป็นผื่นแดง คันและเป็นขุยหรือสะเก็ด นอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา (กลาก) ที่ มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย การขูดเอาขุยที่หนังศีรษะ หรือเอา เส้นผม ในบริเวณนั้นมา ละลายด้วยน้ำยาโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อราที่เป็นสาเหตุ
วิธีการรักษา
ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟุลวิน ซึ่งอาจต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์

6 ผมร่วง จากการทำผม
การทำ ผม ด้วยการม้วน ผม ดัดผม เป่าผม หรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการ ผมร่วง ได้ บางรายถึงขั้นรุนแรงขนาดอยู่เฉย ๆ ก้อเห็น ผมร่วง หล่นลงมาอย่างเห็นได้ชัด
วิธีการรักษา
ไม่ควรใช้วิธีการทำผมที่รุนแรง เช่นดึงผมอย่างแรง หรือใช้น้ำยาทำผมจากสารเคมีที่แรงเกินไป นอกจากนั้น ควรใช้แชมพูสูตรอ่อนละมุน หมั่นสระผม เช้า-เย็น เพื่อขจัดน้ำยาต่าง ๆ ที่แพ้ได้อย่างทันท่วงที

7. ผมร่วง จากการถอนผม
พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการเรียน เป็นต้น เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย โดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้ (เรียกอาการนี้ว่า Trichotillomania) ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองเล่น จน ผมร่วง หรือ ผมแหว่ง บางคนอาจเอามาเคี้ยวกินเล่น ถ้ากินมาก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดตันของกระเพาะลำไส้ได้ เด็กบางคนอาจถอนผมเฉพาะตอนก่อนนอน ซึ่งจะพบว่ามีเส้นผมตกอยู่ตามหมอนทุกวัน เส้นผมเหล่านี้จะไม่มี ต่อม รากผม หนังศีรษะบริเวณที่ ผมร่วง จะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผมที่เป็นตอสั้น ๆ อยู่มาก เนื่องจากผู้ป่วยถอนออกไม่ถนัด
วิธีการรักษา
อธิบายให้ผู้ปกครองทราบถึงสาเหตุ และหาทางห้ามปรามเด็กมิให้ ถอนผม เล่น ถ้าหยุดถอนผมก็จะขึ้นได้เองในรายที่มีปัญหาทางจิตใจ อาจให้ยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม ถ้าไม่ได้ผลควรปรึกษาจิตแพทย์

8. รอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ
รอยแผลเป็นที่หนีงศีรษะ อาจเกิดจากบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ถูกสารเคมี หรือเกิดจากการติดเชื้อ รุนแรงจากแบคทีเรีย (เช่น ฝี พุพอง ชันนะตุ) เชื้อรา (เช่น กลาก) หรือ งูสวัด ทำให้เป็นแผลเป็น ไม่มี ผม ขึ้นอย่างถาวร
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างได้ผล ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการผ่าตัด ปลูกผม

9. ผมร่วง เป็นหย่อม
อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา (กลาก), ซิฟิลิส, การถอนผม, รอยแผลเป็น หรือสาเหตุอื่น ๆ แต่มี โรคผมร่วงเป็นหย่อม อยู่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เรียกว่า "โรค ผมร่วง ย่อมไม่ทราบสาเหตุ (Alopecia areata)" เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งเป็นคราว พบมากในวัยหนุ่มสาว พบน้อยในคนอายุเกิน 45 ปี ขึ้นไป ทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่า ๆ กัน ภาวะเครียดทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการได้ ผู้ป่วยจะมีอาการ ผมร่วง เฉพาะที่ ทำให้ ผม แหว่งหายไปเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มี เส้นผม แต่จะเห็นรูขุมขน หนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติทุกอย่าง ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย ในระยะแรกจะพบ เส้นผม หักโคนเรียงอยู่บริเวณขอบ ๆ บางคนอาจพบ เส้นผม สีขาวขึ้นในบริเวณนั้นผู้ป่วยอาจมี ผมร่วง เพียง 1-2 หย่อม หรืออาจมากกว่า 10 หย่อม ถ้าเป็นมากอาจลุกลามจนทั่วศีรษะ จนไม่มี เส้นผม เหลืออยู่เลยแม้แต่เส้นเดียว บางคนอาจมีอาการ ขนตา และ ขนคิ้ว ร่วงร่วมด้วย เรียกว่า "ผมร่วงทั่วศีรษะ (Alopecia totalis)" ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้เองตามธรรมชาติ แต่อาจกินเวลาเป็นปีกว่าจะหาย (ประมาณ 50% ของผู้ป่วยหายภายใน 1 ปี ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมี ผม ขึ้นภายใน 5 ปี) บางคนเมื่อหายแล้ว อาจกำเริบได้ใหม่เป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง ประมาณ 40% ของผู้ป่วยจะกำเริบซ้ำอีกภายใน 5 ปี หรือไม่อาจมีคนอื่น ๆ ในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อแต่อย่างไร)บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ
เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบจากออโตอิมมูน, โรคแอดดิสัน,โรคด่างขาว เป็นต้น
วิธีการรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาล อาจต้องเจาะเลือดตรวจหาวีดีอาร์แอล หรือขูดเอาหนังส่วนนั้นไปตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากซิฟิลิส หรือเชื้อรา ถ้าเป็นโรค ผมร่วง หย่อมไม่ทราบสาเหตุ ก็ให้ใช้ครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ หรือ ครีมบีตาเมทาโซนขนาด 0.1% หรือทาด้วยขี้ผึ้งแอนทราลิน (Anthralin) ขนาด 0.5% วันละครั้ง ถ้าไม่ได้ผลใน 1 เดือน ก็อาจฉีดยาสเตอรอยด์ (เช่น ไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์) เข้าใต้หนังในบริเวณที่เป็นทุก 2 สัปดาห์ในรายที่เป็นรุนแรง ( ผมร่วง ทั้งศีรษะ) อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน ชนิดกินยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ ผมงอกเร็ว ขึ้น

10. ผมร่วง เนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว
ปกติ เส้นผม ของคนเราจะมีอายุนาน 2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงาม ในแต่ละวันจึงมี เส้นผม ประมาณ 10%-15% ที่เสื่อมและหลุดร่วงไปแต่ในบางภาวะ เส้นผม ที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันที ทำให้มี เส้นผม เสื่อมและหลุดร่วงเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ (เช่น เพิ่มเป็น 30%) ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการ ผมร่วง มากกว่าปกติได้ สาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราว ที่พบได้บ่อย เช่น
10.1 ผู้หญิงหลังคลอด มัก ผมร่วง หลังคลอดประมาณ 3 เดือน เนื่องจากขณะคลอด เส้นผม บางส่วนเกิดหยุดการเจริญในทันที ต่อมาอีก 2-3 เดือน ผม เหล่านี้ก็จะร่วง
10.2 ทารกแรกเกิดอาจมีอาการ ผมร่วง ในระยะ 1-2 เดือนแรก แล้วจะค่อย ๆ มี ผม งอกขึ้นใหม่
10.3 เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น จะมีอาการ ผมร่วง หลังเป็นไข้ ประมาณ 2-3 เดือน
10.4 ได้รับการผ่าตัดใหญ่
10.5 เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค, เบาหวาน , โลหิตจาง, ขาดอาหาร เป็นต้น
10.6 การเสียเลือด การบริจาคเลือด
10.7 การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด, อัลโลพูรินอล, โพรพิลไทโอยูราซิล, เฮพาริน เป็นต้น
10.8 ภาวะเครียดทางจิตใจ เช่น ตกใจ เสียใจ เศร้าใจ เป็นต้นผู้ป่วยจะมีอาการ ผมร่วง มากผิดปกติ (มากกว่าวันละ 100 เส้น) ลักษณะร่วงทั่วศีรษะ ซึ่งมักจะมีอาการตามหลัง สาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6 เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์

 ที่มา คุณเทวัญ งามบุญสิน  นายกสมาคมร้านขายยา  สมาคมร้านขายยาแห่งประเทศไทย


อาการ

 ผมร่วง (hair loss) เป็นสาเหตุหนึ่งของผมบาง ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ผมร่วงผิดปกติ หมายถึง ผมที่ร่วงมากกว่า 200-300 เส้นต่อวัน คนส่วนใหญ่ที่คิดว่า ผมของตนร่วงมาก ถ้านับเส้นผมที่ร่วงดูแล้ว จะพบว่า น้อยกว่า 100 เส้นต่อวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผมที่ร่วงตามปกติ เพราะเส้นผมของคนเราตามปกติจะร่วงประมาณวันละ 50-300 เส้นเป็นประจำ (ถ้าเป็นผมเส้นดำหนาที่เห็นได้ชัดก็ให้ถือว่ามีผมร่วงประมาณวันละ 100 เส้นต่อวัน) คนที่หลายๆ วันจะสระผมหรือหวีผมสักครั้ง (เพราะเกล้ามวยไว้ เพิ่งดัดผมไว้ใหม่ๆ หรืออื่นๆ) เมื่อไปสระผม หรือหวีผมเข้า อาจมีผมร่วงออกมาเป็นจำนวนมาก (มากกว่า 200-300 เส้นได้) เพราะเก็บผมที่ร่วงไว้บนศีรษะมาหลายวันนั่นเอง

ยารักษา

    ปัจจุบันองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐ-อเมริกา อนุมัติให้ใช้ยากินรักษาโรคผมบางแบบผู้ชาย คือยา finasteride กินวันละ 1 มิลลิกรัม โดยที่ยาตัวนี้จะยับยั้งเอนไซม์ 5 alpha - reductase  ซึ่งเป็นตัวที่เปลี่ยน ฮอร์โมนเพศชายให้กลายเป็น dihydrotestesterone (DHT)  ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ผู้ชายมีผมบางและต่อมลูกหมากโต   ดังนั้น ยา finasteride  นอกจากจะใช้รักษาผมบางแล้ว  ยังใช้รักษาอาการต่อมลูกหมากโตได้ด้วย แต่ต้องใช้ยาขนาดสูง (วันละ 5 มิลลิกรัม)