วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เชื้อราในช่องปาก

ประเด็นที่ 1 ลักษณะของเชื้อราในช่องปาก ?
มีลักษณะเป็นแผ่นคราบสีขาว ซึ่งบางครั้งอาจหลุดออกไปเผยให้เห็นเนื้อเยื่อด้านใต้เป็นแผลอักเสบแดง

               ประเด็นที่ 2 ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องปาก
                                                  1.) เด็กทารกแรกเกิด                



                                           2.) ผู้ที่ใส่ฟันปลอม
                                                   3.) ผู้ที่สูบบุหรี่

        4.) ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ซึ่งต้องใช้ยาสเตอรอยด์ ชนิดพ่นเป็นประจำ

                          5.) ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน

6.) ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะที่มีการเปลี่ยน แปลงของระดับ                 ฮอร์โมน เช่น ตั้งครรภ์ หรือรับประทานยาคุมกำเนิด


  7.) ผู้ที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  8.) ผู้ ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
  9.) ผู้ ที่มีภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ, ธาตุเหล็ก และโฟเลต
                            ประเด็นที่ 3 สาเหตุการติดเชื้อราในช่องปาก
ส่วนใหญ่มีเชื้อราแคนดิดา เป็นเชื้อต้นเหตุ พบมากใน ผู้ที่รับการรักษาโรคอื่นๆ ด้วยยาปฎิชีวนะ 
ยากดภูมิต้านทาน หรือใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังพบได้มากในผู้ที่ใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี 
หรือทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เป็นต้น
                            ประเด็นที่ 4  อาการของเชื้อราในช่องปาก
อาจมีรอยแดง ที่เพดานลิ้น ข้างกระพุ้งแก้ม หรือมีแผ่นฝ้าขาวเหลืองคลุมเป็นจุด และมีรอยถลอกแดงข้างใต้ รายที่ทิ้งไว้นาน อาจมีตุ่มหรือติ่งนูนโตขึ้น ทำให้มีความรู้สึกเฝื่อน ชา ปวดแสบ ปวดร้อนได้
                ประเด็นที่ 5 หลักการสังเกตุเชื้อราในช่องปาก
1.ใช้กระจกตรวจดูในช่องปากว่า มีฝ้าสีขาวที่เพดาปาก  หรือกระพุ้งแก้มหรือไม่
2.เวลากินของรสจัด เช่น เผ็ดรู้สึกแสบหรือไม่
3.การรับรสเปลี่ยนไปหรือไม่ 
4. เราเป็นแผลร้อนในหรือไม่
                ประเด็นที่ 6 การรักษาเชื้อราในช่องปาก
ใช้ยาอมสำหรับเชื้อราชนิดเม็ดหรือน้ำในผู้ใส่ฟันปลอมอาจใช้ชนิดทา ร่วมกับแช่ฟันปลอมในน้ำยา
บ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ หากมีก้อนหรือตุ่มโต อาจต้องตัดเนื้อออก
        ประเด็นที่ 7 วิธีการป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องปาก
ดื่มน้ำหรือบ้วนปากมากๆ
ลดการรับประทานน้ำตาลและแอลกอฮอล์
งดการสูบบุหรี่
รักษาความสะอาดช่องปาก
ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น