วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี

                                                               ทอผ้าทุ่งแสม
 การทอผ้าทุ่งแสมนี้เป็นธุรกิจของคนในชุมชนบ้านทุ่งแสม จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของแม่บ้านเกษตรกรโดยปัจจุบันกลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งแสมมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ประมาณ 20 กว่ารายการ ซึ่งทางกลุ่มได้มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งภายในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอื่นๆ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มยังได้รับรางวัล OTOP Production Champion ระดับจังหวัดอีกด้วย
                                               ทอผ้าลาวครั่ง

 ผ้าทอลาวครั่ง ซึ่งเป็นผ้าทอด้วยวิธีการจกและผ้ามัดหมี่ มีการออกแบบลายผ้าโดยไม่มี
การออกแบบล่วงหน้าไว้ก่อนจึงทำให้ดูมีชีวิตชีวา ซึ่งผ้าทอลาวครั่งได้รับการสืบทอด
ภูมิปัญญาเหล่านี้มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของลาวครั่ง ผ้าทอลาวครั่งนี้ถือว่าเป็นของหายาก ที่ควรค่าต่อการเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้
                                                               ผ้าทอกระทุ่ม
การทอผ้ากระทุ่มเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหนองกระทุ่ม จังหวัดสุพรรณบุรี  ผ้ากระทุ่มมีความโดดเด่นคือใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทำให้มีลวดลาย สวยงามเฉพาะตัว    มีความคงทน เนื้อผ้านุ่ม ไม่ยับ มีความละเอียด     เนื้อแน่น สีไม่ตก มีการใช้แรงงานภายในชุมชน     โดยสมาชิกกลุ่ม มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น     ด้านการทอผ้าไหม ได้รับการถ่ายทอดเรื่อยมา                                         จากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ถึงลูกหลาน ในปัจจุบัน 

1.ประเด็นเรื่อง ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความหมายของภูมิปัญญา
ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความหมายคำว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นเป็นการเชื่อมโยงไปถึงความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน การประกอบอาชีพและการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ และถ้าจะพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนั้นหมายถึง เทคนิควิทยาพื้นบ้านได้ด้วย
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี  ความรู้เป็นคุณธรรมเมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนกับคนคนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  เราจึงควรต้องช่วยกันสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่เนิ่นนานเอาไว้ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราได้รู้จักและเรียนรู้
2.ประเด็นเรื่อง เกษตรกรรมและประมง
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผักของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ปัญหาที่พบของการกำจัดแมลง คือ เกิดจากสารพิษตกค้างในพืชผัก  นอกจากนี้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชยังเป็นอันตรายต่อ ตัวเกษตรกร และผู้ใช้โดยตรง ซึ่งอาจจะเกิดการสะสมของสารเคมีในร่างกายจนถึงปริมาณมากพอที่จะทำให้เจ็บป่วยและอาจถึงแก่ชีวิตได้  ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูงปานกลาง ที่ราบเชิงเขาและบริเวณเนินเขา สภาพดินเป็นดินร่วนละดินเหนียว เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชผัก 
เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาการระบาดของแมลงต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชกินใบและกินผลต่างๆ  เกษตรกรปลูกพืชผักเป็นการค้ามาระยะเวลานาน  ทำให้มีการสะสมของโรคและแมลงประกับสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง การที่เพิ่มปริมาณสารเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจะทำให้แมลงในสวนพืชผักมีความต้านทานต่อสารเคมี
ความเป็นมา : ครั้งแรกใช้กำมะถันผงในลักษณะรมควันเพื่อป้องกันแมลง และต่อมามีการแนะนำให้ใช้สารประกอบอาร์เซนิกเป็นสารฆ่าแมลง  ในประเทศจีนมีการใช้สารหนูขาวในการป้อกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว  และต่อมาได้มีการเริ่มใช้สารจากพืชซึ่งได้จากธรรมชาติ ได้แก่ นิโคตีน จากใบยาสูบ  โรตีโนน จากรากพืชในสกุลDERRIS SP. และไพรีทรัม จากส่วนดอกของพืชสกุลเบญจมาศ  สารเคมีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นใช้เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดแรกๆ คือ ไดไนโตร-โอ-ครีซอล และ ไทโอไซยาเนต
ข้อควรระมัดระวังในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง : ไม่สูบบุหรี่หือดื่มน้ำในขณะพ่นสาร  ไม่เข้าไปในบริเวณพ่นสารภายใน1-3 วัน  ไม่ฉีดพ่นสารเคมีในขณะที่มีลมแรง และไม่ควรใช้ปากเปิดขวดสารเคมี  ไม่ให้สารเคมีถูกผิดหนังโดยเด็ดขาดและไม่ควรสูดหรือดมเคมีในขณะผสมสาร ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้สารจากสะเดาควบคุมแมลงศัตรูพืชของเกษตรกร   จ.สุพรรณบุรี
เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารจากสะเดาควบคุมแมลงศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง  คุณภาพของผลผลิตที่ใช้จาดสะเดา  จะมีคุณภาพของผลผลิตน้อยกว่าผลผลิตที่ใช้สารเคมีสังเคราะห์
ความปลอดภัยของผู้ใช้สารจากสะเดา : เกษตรกรผู้ใช้สารจากสะเดาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการใช้สารจากสะเดาควบคุมแมลงศัตรูพืชมีความปลอดภัยอยู่ในระดับสูงมาก  และเมื่อแยกประเด็นอีกว่า ความปลอดภัยหลังการใช้สะเดาแล้วไม่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และขณะที่มีการใช้หรือหลังการใช้สารจากสะเดาแล้วไม่ทำให้เกษตรกรเกิดอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนัง
ปัจจุบันยังคงมีการใช้สารจากสะเดาควบคุมแมลงศัตรูพืช  คือ  จะช่วยลดต้นทุนการผลิต  มีความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรผู้ใช้เอง  และสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ดีเท่าสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช และอีกอย่างที่สำคัญคือ  ผลผลิตที่ใช้สารจากสะเดาขายได้ราคาดีกว่าผลผลิตจากที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง
ปัจจัยการใช้บริการและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานประมง  จ.สุพรรณบุรี
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพ
ด้านเกษตรกรรม อาชีพการประมงก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งของการทำเกษตรกรรม การประมงจะอาศัยวิธีการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ อาทิเช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำจำนวนมาก  ต่อมาปริมาณประชากรของสัตว์น้ำได้ลดลง  เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรมนุษย์เรา
อาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยเรานั้นได้มีมาเนิ่นนานมาแล้ว ซี่งได้รับการพัฒนาจากชาวประมง และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ทำการวิจัย  ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาประมงของประเทศไทยเราตลอด   ปัจจัยการใช้บริการและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล  มีความพอใจในระดับหนึ่ง ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มาขอรับการให้บริการของ สำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านพนักงานผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ และปัจจัยด้านอาคาร/สถานที่/สิ่งอำนวยความสะดวก โดย เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความสำคัญกับปัจจัยด้านเครื่องมือเครื่องใช้บริการ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง และผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3.ประเด็นเรื่อง คหกรรม
อาหารพื้นบ้าน
อาหารเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตมนุษย์ มนุษย์ต้องกินอาหารเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้  อาหารที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวันมี จำพวกเนื้อสัตว์ คือ เนื้อปลา  เนื้อไก่  เนื้อหมู  เนื้อกบ  เนื้อเต่า ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับประกอบอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี มีอยู่ตามแหล่งน้ำ แม่น้ำลำคลอง พวกเนื้อสัตว์เหล่านี้ประกอบเป็นอาหารได้หลายประเภท คือ ปิ้ง  ย่าง  ต้ม  นิ่ง  ผัด  แกง  อาหารพื้นบ้านแต่ละชนิดเป็นอาหารที่สะท้อนความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่ แต่ละแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรีได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาหารพื้นบ้านทั้ง อาหารคาว อาหารหวาน อาหารที่ใช้ในเทศกาลประเพณี  พิธีกรรม อาหารที่เกี่ยวกับความเชื่อ ล้วนมีผลต่อวิถีชีวิตของชาวสุพรรณบุรี ทั้งในด้านวัฒนธรรม  สภาพสังคม  และเศรษฐกิจของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี อาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอปลาม้า คือ ปลาม้าเป็นปลาที่มีเนื้อมาก มีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมีน้ำพริกต่างๆของอำเภอสามชุก คือ แกงพริกจิ้ม  แต่ปัจจุบันอำเภอสามชุกยังมีข้าวหลามทั้งข้าวเหนียวขาว และข้าวเหนียวแดง มีรสชาติอร่อย หวาน มัน และหอมกลิ่นเยื่อไม้ไผ่ที่ใช้บรรจุข้าวหลาม
จากการศึกษาด้านภูมิปัญญาของอาหารพื้นบ้าน ในพื้นที่แต่ละแห่งของจังหวัดสุพรรณบุรี  ทำให้ทราบว่าชาวสุพรรณบุรีมีการดำรงชีวิตในลักษณะที่เกิดการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาอาหาร  จากแหล่งต่างๆ มีกระบวนการผลิต และกรรมวิธีนำเอาทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวมาประกอบเป็นอาหาร  มีการแปรรูป  หรือการถนอมอาหาร  การเลือกวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการประกอบ และปรุงอาหาร ทำให้มีรสชาติอร่อย
4.ประเด็นเรื่อง ศิลปกรรม
จิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสุพรรณบุรี
           ในยุครัตนโกสินทร์ ตอนต้นมีจิตกรรมฝาผนังที่ สำคัญดังนี้ จิตกรรมฝาผนังในเขตอำเภอเมือง วัดหน่อพุทธางกูร ตำบลพิหารแดงเป็นจิตกรรมผนังอุโบสถเก่าเขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังมีสีรองพื้น ซึ่งเรื่องราวของจิตกรรมเป็นเรื่องของชาติชาดก พระพุทธประวัติ พระธาตุจุฬามณี และภาพเทพชุมนุม
                วัดประดูสาร ตำบลรั่วใหญ่เป็นจิตกรรมผนังอุโบสถเก่าเขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังมีสีรองพื้นซึ่งเรื่องราวของจิตกรรมเป็นเรื่องราวของอดีตพุทธ มหาชาดก และพุทธประวัติ ปัจจุบันใส่กรอบแล้ว และจิตกรรมไม้คอหลังหอสวดมนต์ เป็นเรื่องทศชาติวัดปู่บัว ตำบลสนามชัย เรื่องราวของจิตกรรมเป็น เรื่องของชาติชาดก พระพุทธประวัติได้มีการเขียนจิตกรรมบนฝาผนัง อีกมากมายส่วนมากจะเป็นการเขียน เกี่ยว กับ พุทธประวัติ ทศชาติ และชาดก โดยใช้สีฝุ่นเขียน โดยผนังเป็นพื้นรอง
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร (สถาปัตยกรรม)
สถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถ้าใครผ่านมาเยือนหรือท่องเที่ยวที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะต้องมากราบนมัสการหลวงพ่อโต เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง ก็คือ วัดป่าเลไลย์ตามมาดูความวิจิตรงดงามภายในวัด และมากราบนมัสการหลวงพ่อโต หลวงพ่อโตซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่น เห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย
การทอผ้าทุ่งแสม (หัตถกรรม)
      การทอผ้าทุ่งแสมเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจต่อประเทศชาติ  เป็นแนวทางการพัฒนาชนบทแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่า  ธุรกิจชุมชนเป็นทางเลือกหนึ่งของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจขององค์กรชาวบ้าน เป็นสำคัญ ส่วนที่สองเป็นกลยุทธ์การจัดการด้านกลุ่ม ด้านการเงิน ด้านการผลิต และด้านการตลาด ส่วนที่สามเป็นกิจกรรมที่นำสู่คุณภาพชีวิต กล่าวคือ กิจกรรมด้านเกษตรผสมผสาน การสร้างรายได้ กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งแสม เกิดจากการรวมตัวกันของแม่บ้านเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า ซึ่งชาวบ้านมีความรู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยปัจจุบันกลุ่มทอผ้าบ้านแม่บ้านเกษตรกรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีอายุในช่วง 41-50 ปี มากที่สุด
อาชีพหลักที่ระบุมากที่สุด คือ การเลี้ยงไหม รองลงมา คือ การปลูกอ้อย รับจ้าง การเย็บผ้า การทอผ้าเป็นอาชีพรองและอาชีพเสริม รายได้ในภาคเกษตรกรรม สำหรับชนิดของผ้าไหมแท้ที่แม่บ้านเกษตรกรนำมาทอมากที่สุด คือ ผ้าพื้นและผ้ามัดหมี่ ส่วนชนิดผ้าไหมประดิษฐ์ที่แม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่นำมาทอ คือ ผ้ามัดหมี่ ส่วนใหญ่จะใช้ช่วงเวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพรองในการทอผ้า วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้า พบว่า เส้นไหมแท้ที่ใช้ในการทอผ้าทอ ทั้งนี้เป็นเส้นพุ่งและเส้นยืน ซื้อจากนอกชุมชน และ แม่บ้านเกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้ทุนส่วนตัวในการทอผ้า
ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมของแม่บ้านเกษตรกร
อาชีพหลักที่ระบุมากที่สุด คือ การเลี้ยงไหม รองลงมา คือ การปลูกอ้อย รับจ้าง การเย็บผ้า การทอผ้าเป็นอาชีพรองและอา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชีพเสริม  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นกลุ่มที่เข้าเป็นสมาชิกมากที่สุด การได้รับคำแนะนำในเรื่องความรู้ด้านการเกษตรเป็น เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกมากที่สุด และแม่บ้านเกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้ทุนส่วนตัวในการทอผ้า มีบางรายที่กู้ยืมเงินทุนจากร้านรับซื้อและจำหน่ายผ้า กลุ่มที่เป็นสมาชิก(กลุ่มทอผ้า) แม่บ้านเกษตรกรที่ไม่เคยเข้าร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจทอผ้า เกือบทั้งหมดได้รับแหล่งคำแนะนำความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจทอผ้าจาก เพื่อนบ้าน
บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาธุรกิจชุมชน
บทบาทแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาธุรกิจการทอผ้าที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย 3 บทบาทหลัก คือ บทบาทในการพัฒนาด้านการผลิต บทบาทในการพัฒนาด้านการตลาด และบทบาทในการพัฒนาด้านการเงิน และมีบทบาทในการ ทอผ้า เพื่อสร้างผลผลิต คือ การพัฒนาการทอผ้า การพัฒนา/ต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมในการทอผ้า และการเข้าร่วมฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการเพื่อพัฒนาการทอผ้า บทบาทในการพัฒนาด้านการเงิน คือ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในกิจกรรมการทอผ้าของตนเอง และการวิเคราะห์ผลตอบแทนในการประกอบอาชีพทอผ้าของตนเองให้ไปสู่ตลาดอย่างมีคุณภาพ
การทอผ้าลาวครั่ง (หัตถกรรม)
จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ การทอผ้าของชาวไทยเชื้อสายลาว แห่งบ้านทุ่งก้านเหลือง หมู่ที่ 5 ตำบลป่าสะแกไม่เพียงแต่หมายถึงการทอเพื่อใช้สอยเท่านั้น หากแต่หมายรวมถึงการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ต่างๆ ในอดีต และบ่งบอกถึง ความเป็น "กุลสตรี"ของหญิงสาวในชุมชนได้อีกด้วย นางสมจิตร ภาเรือง ประธานกลุ่ม ซึ่งเป็นสตรีในหมู่บ้านที่คลุกคลีอยู่กับการทอผ้าและการตัดเย็บเสื้อด้วยมือที่คุณแม่สั่งสอนมาตั้งแต่จำความได้ และประกอบกับตนเองมีความชื่นชอบผ้าทอโบราณเป็นทุน เริ่มสะสมมาเรื่อย จนมีจำนวนมาก มีการคิดค้นมีการฟื้นฟู การทอผ้าขึ้นมาในชุมชน อีกทั้งฟื้นฟูประเพณีลาวซี-ลาวครั่งในอดีตที่มีคุณค่า เพื่อที่จะได้ให้ลูกหลานร่วมกันอนุรักษ์ไว้ จึงได้ชักชวนพี่น้องคนไทยเชื้อสายลาวจาก 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ่อกรุ ตำบลหนองกระทุ่ม และตำบลป่าสะแก มาร่วมกันเป็นกลุ่ม นับได้ 65 ครอบครัวที่สนใจในอาชีพ   ทอผ้า เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กลุ่มเปิดตัวครั้งแรกต่อสาธารณะชนโดยการจัดกิจกรรมบวชนาคหมู่เฉลิมพระเกียรติตามประเพณีลาวซี-ลาวครั่ง เชิญแขกเหรื่อมาทั่วสาระทิศ
          ผ้าทอโบราณลาวซี-ลาวครั่ง บ้านทุ่งก้านเหลือง ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการนำทั้ง ฝ้ายและไหม มาทอ โดยใช้วิธีการจก และมัดหมี่ ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ คือผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนจก มีความหลากหลายลวดลาย เช่น ผ้าทอลายมะเขือผ่าโผง ผ้าทอลายพญานาค เป็นต้น รวมไปถึงการแปรรูปเป็นเสื้อเป็นซิ่นเย็บด้วยมืออีกด้วย การย้อมสีธรรมชาติโดยเฉพาะสีที่มาจากครั่ง ถือเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ดังนี้ การย้อมด้วยครั่ง คือ การบดหรือตำครั่งให้มีขนาดเท่าเม็ดกรวดต้มน้ำให้เดือด แล้วตักน้ำราดลงในครกที่ตำครั่งใช้สากนวดให้สีครั่งออกตักน้ำครั่งใส่โอ่งมังกร เก็บไว้ประมาณ 1 อาทิตย์  ถึงขั้นตอนการย้อม ทั้งเส้นไหม เส้นฝ้าย ต้องนำใบเหมือด ใบส้มป่อย ใบชะมวง ใบชงโค ใบมะขาม อย่างละครึ่ง กิโลกรัม ต้มผสมกับครั่งและเส้นไหมมัดหมี่ให้เดือน ยกเส้นไหมมาทุบ ขยี้ นวดสีให้เข้ากัน ทำแบบนี้ทั้งวัน จนแน่ใจว่าสีติด นอกจากนี้ยังมีวิธีการย้อมด้วยครามอีกด้วย การย้อมผ้าฝ้ายด้วยครามมีดังต่อไปนี้ โดยมีวิธีการนำใบคราม และกิ่งอ่อน ตัดครึ่งต้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาแช่ในโอ่งน้ำ หากจะนำครามใบใช้ เลยให้นำครามเหลวใส่หม้อดินไว้เพื่อเตรียมย้อม ในการย้อมครามจะย้อมในช่วงตอนเย็นๆ หรือตอนกลางคืน โดยนำเส้นด้ายหรือผ้าที่จะย้อมไปขยำในหม้อคราม หากจะนำครามเก็บไว้เป็นปี ให้ปั้นครามเป็นก้อนตากแดดให้แห้งถ้า ต้องการสีอ่อนย้อมเพียงครั้งเดียว หากต้องการย้อมเป็นสีเข้มต้องย้อมประมาณ  3 ครั้ง แล้วนำมาตากแดด เก็บไว้ทอ จากนั้นได้มีการนำมาทอ มีการมัดมี่ ตามลายตั้งแต่สมัยโบราณที่สืบทอดกันมา จนได้ผ้าทอที่สวยงาม
การทอผ้าทอกระจก (หัตถกรรม)
การทอผ้ากระจก เพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อสืบทอดวามรู้ และวิธีการทอผ้าสู่คนรุ่นหลัง และเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ที่มีการเข้าร่วมกลุ่มการทอผ้า ส่งเสริมรายได้ภายในชุมชนของตนเอง ไปสู่สากลให้คนรู้จักผ้าทอกระจก ซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยออกให้เห็นชัด ๆตามหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้
บริบทชุมชน
อาชีพของคนในสังคมส่วนใหญ่ มีอาชีพเป็นเกษตรกรรมและมีอาชีพเสริม คือ การเลี้ยงไก่บ้านและ การทอผ้า เผื่อเป็นการหารายได้เสริม สภาพแวดล้อมส่วนมากห่างไกลจากแหล่งน้ำ  สภาพปัจจุบันและความต้องการ คือ การขาดแคลนคนงานรุ่นใหม่ ผ้าทอเสร็จแล้วไม่สามารถขายได้ วัสดุที่ใช้ทอไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ขาดเทคนิคการทำเส้นเส้นด้ายและได้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้า สีสันของสินค้าไม่เป็นความต้องการของลูกค้า ไม่มีตลาดรองรับสินค้าต้องขายเองความต้องการของสมาชิกภายในกลุ่ม คือ ต้องการให้สินค้าถูกใจต่อลูกค้ามีสีสันตามความต้องการของตลาดแต่ขาดความรู้ด้านการย้อม ด้านการผลิต ต้องการที่จะสร้างตลาดรองรับผ้าที่ทอแล้วเพื่อให้ขายได้ เพื่อที่จะมีทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม
ผลย้อนกลับ คือ ภายในกลุ่มได้มีการจัดจำหน่าย ผ้าทอที่มีอยู่อันเดิมในราคาเท่าทุนเพราะแม้ว่าไม่ได้กำไร แต่ก็ไม่ขาดทุนในการผลิต และนำความผิดพลาดต่างๆ มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสมัยนิยมเพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นที่ยอมรับของลูกค้า
เพลงอีแซว (ดนตรี)
เพลงพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นเมือง หรือดนตรีพื้นบ้านซึ่งทั้งหมดมีความหมาย เดียวกัน คือหมายถึงเพลงของ   คนที่อยู่ในสังคม ชนบท ส่วนการร้องอาจจะร้องคนเดียว ร้องโต้ตอบ หรือร้องเป็นหมู่คณะก็ได้ มีเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองบรรเลงหรือไม่มีตาม เป็นเพลงที่สืบทอด กันมาปากต่อปาก โดยไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  สุพรรณบุรี มีเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมาแต่สมัยโบราณ  เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว ด้วยสุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรแต่ดั้งเดิม อาชีพหลักคือการทำนา และประเพณีสำคัญที่ชาวสุพรรณรู้จักดี ก็คือประเพณี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" คนสุพรรณเป็นคนที่มีนิสัยรื่นเริงชอบความสนุกสนาน เมื่อออกแรงทำนาเกี่ยวข้าว ก็จะหาอะไรที่สนุกเล่น แก้เหนื่อย ทำให้เกิดความคึกคัก ในระหว่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดเพลงพื้นบ้านขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง คนสุพรรณเล่นเพลงเหล่านี้มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดสืบต่อกันมา และขยายเป็นแหล่งชุมเพลงใหญ่ของประเทศ การเล่นเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ได้เล่นแค่คนสองคน แต่เล่นกันเป็นหมู่คณะ เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า 100 ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ ( เพลงโต้ตอบ ) ที่หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ กระทั่งเมื่อ 60-70 ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดงด้วย เพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน หรืองานรื่นเริงต่างๆ
การละเล่นพื้นบ้าน  (ดนตรี)
                เมื่อเราเอ่ยถึงการละเล่นพื้นบ้านของไทย ทุกๆคน ก็จะนึกถึงตอนเด็กที่เราได้เล่นกับเพื่อนๆ ถ้าถามว่ามีใครไม่เคยเล่นการละเล่นพื้นบ้านบ้าง ก็คงไม่มีใครปฏิเสธหรอกว่า ไม่เคยเล่น เพราะในวัยเด็ก ทุกคนล้วนแล้วแต่เคยเล่นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น  มอญซ่อนผ้า  เล่นซ้อนหา หมากเก็บ รีรีข้าวสาร งูกินหาง เป็นต้น  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถ้ายิ่งมีผู้คนเล่นเยอะ  เกมต่างๆ นี้ก็จะสนุกมากยิ่งขึ้น แต่ละการละเล่นก็จะให้ความสนุกสนานแตกต่างกันออกไป และด้วยความสนุกสนานที่ทำให้เราได้เพลิดเพลินนี้ จึงทำให้การละเล่นบางอย่างของไทยเรานั้น ยังไม่หายไป


การละเล่นของชาวสุพรรณบุรี   คือ การเล่นคอน
                   อุปกรณ์และวิธีการ
ลูกคอนจะแขวนไว้ที่บ้านเจ้าภาพ เวลาเช้าก่อนวันเล่น จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ในจำนวนชาย-หญิง เท่ากันเริ่มหลังจากที่เจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็นแล้ว ก็จะก่อกองไฟขึ้น หนุ่ม-สาวจะแยกนั่งคนละข้างของกองไฟ ฝ่ายหนุ่มจะเป่าแคน ปรบมือทำจังหวะ   ร้องเพลงเกี้ยว ฝ่ายสาวจะร้องตอบ การร้องเพลงนี้เรียกว่า ร้องเขิน และร้องด้วยภาษาไทยโซ่ง ด้วยเวลาพอสมควร ก็จะมี การวานสาว คือให้หนุ่ม-สาวได้พูดคุยกันจนสว่าง ถ้าบ้านเจ้าภาพออกปากให้ช่วยทำสิ่งใดก็จะช่วยกันทำจนแล้วเสร็จ ถึงจะแยกย้ายกลับบ้าน โอกาสและเวลาการเล่นก็เริ่มวันตรุษ ไปจนถึงวันสงกรานต์
5.ประเด็นเรื่อง สาธารณสุข
โรคนิ้วงอติดด้วยวิธีการผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนัง
เป็นความผิดปรกติของมือที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้ที่ใช้มือประกอบกิจกรรมซ้ำๆ รุนแรง ในชีวิตประจำวัน การใช้มือทำงานหนักๆ ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนนี้ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการที่พบ ได้แก่ เจ็บที่โคนนิ้ว เคลื่อนไหวแล้วนิ้วมือมีการสะดุด ยังมีการชา บวม
โรคนิ้วงอมีภูมิลำเนาที่สามชุก จากการวิจัยพบว่าโรคนี้ถ้าเอายาไปรับประทานอย่างเดียว ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ได้แค่บรรเทาไปชั่วคราว ต่อมาจึงต้องส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดเจาะผ่านผิวหนัง พอผ่าตัดเสร็จและรักษาตัวหายแล้ว จะพบว่า ผู้ป่วยจะไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำ มีภ่วะแทรกซ้อนเล็กน้อย และไม่เกิดแผลเป็นด้วย
ฉะนั้นถ้าเราอยากห่างไกลจากโรคนิ้วงอนี้ เราก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่ควรทำงานอย่างหักโหม หรือ ทำติดต่อกันนานเกินไป และไม่ควรที่จะหิ้วของหนักๆ ซึ่งถ้าเราทำได้ โรคนี้งอนี้ก็ไม่มาเยือนเราอย่างแน่นอน
6.ประเด็นเรื่อง ภาษาและวรรณกรรม
ภาษาสุพรรณบุรี มีภาษาพูดดังนี้ภาษาไทยกลาง ภาษาจีน ภาษาไทยลาว ภาษาไทยกระเหรี่ยง ภาษาไทยละว้า ภาษาไทยเขมร ภาษาไทยญวน สำเนียงสุพรรณบุรี ภาษาถิ่น ซึ่งภาษาถิ่น จะมีสำเนียง  เหน่อ  ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของคนจังหวัดนี้ นอกจากนั้นการใช้เสียงวรรณยุกต์ก็เป็นเสียงที่แปลกและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  นอกจากนี้จังหวัดสุพรรณบุรี ยังมีสถาปัตยกรรมต่าง ๆที่ยังหลงเหลือความเป็นโบราณอยู่อีกมายในปัจจุบัน คือ ตลาดร้อยปี  ส่วนที่เรารู้จักกันมากๆก็น่าจะเป็นตลาดร้อยปี หรือสามชุกซึ่งเป็นตลาดที่มีความเก่าแก่มานานนับร้อยปี ที่ยังคงหลงเหลือสถาปัตยกรรมเก่าๆ ให้เราได้เห็นนั้นก็คือบ้านเรือนที่เป็นตลาดที่สร้างอยู่ฝั่งริมน้ำ อาการบ้านบ้านเรือนที่มีความเก่าแก่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกอย่างหนึ่งอีกด้วยตำนานวรรณกรรม ของจังหวัดสุพรรณบุรี   มีอยู่มากมายหลายเรื่องได้แก่ เรื่องตาสีนนท์กับนางเดิม                  เรื่องถนนสามชุก-หนองผักนาก   เรื่องบ้านทึง บ้านขี้ทึง   เรื่องสองพี่น้อง ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าติดตามอ่านอย่างมาก แถมยังได้ความรู้และความเพิลดเพลินอีกด้วย
เราซึ่งเป็นคนไทย ไม่ว่าจะจังหวัดไหนก็ตาม ถ้ามีสิ่งต่างๆ ที่สืบทอดกันมา ก็ช่วยกันดูแลรักษา   อย่าให้ลบเลือนหายไป เราจะได้ไปเล่าให้รุ่นลูกรุ่นหลานว่า ประเทศไทยเรา มีมรดกทั้งทางวัตถุ ทางภาษา ที่น่าสนใจอย่างมากและควรอนุรักษ์ไว้
7.ประเด็นเรื่อง ศาสนาและประเพณี
ทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้มีการเผยแพร่พุทธศาสนา ได้ริเริ่มจาก วัดสามชุก จัดการศึกษามาตั้งนานแล้ว  ซึ่งทางวัดได้จัดการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรและจัดสร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษากัน  นอกจากนี้ยังจัดโครงการขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและลึกซึ้งด้านศาสนามากขึ้น เช่น โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  โครงการปฏิบัติธรรม  โครงการเผยแพร่ศาสนธรรมในโรงเรียน  เป็นต้น
การศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่  การจัดอุทยานการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  โดยนำสภาพแวดล้อมอาณาบริเวณของวัดมาเป็นแหล่งเรียนรู้  ต้นไม้  ห้องสมุด มีความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนตามอัธยาศัย
ผลการวิจัยในการเผยแพร่ศาสนา  วัดสามชุก มีกลุ่มเป้าหมายในการเผยแผ่ศาสนธรรมที่ชัดเจน   ได้แก่ นักเรียน  นักศึกษา  ข้าราชการ  ปละประชาชนทั่วไป  เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เทศกาลงานประเพณี
•งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาดประจำปี  เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา ภายในงานมีการจัดกิจกรรมมากมาย หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การแสดงยุทธหัตถีประกอบแสง - เสียง การแสดงโขน กิจกรรมร้านกาชาดของหน่วยงานต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมสี่ภาค การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง นิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การ
จำหน่ายสินค้าตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่วนของกิจกรรมหลัก คือ การจัดการแสดงยุทธหัตถีจำลองเหตุการณ์ ประกอบแสง สี เสียง  ที่แสดงโดยนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ ประชาชนชาวสุพรรณบุรี
•งานประเพณีทิ้งกระจาด เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการสร้างความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน งานทิ้งกระจาด เป็นประเพณีของพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน เป็นการจำเริญเมตตาธรรมแก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว ความสำคัญของงานประเพณีทิ้งกระจาดนี้ เป็นงานที่รวมกันของประชาชน ในวันที่จะทำบุญให้ทาน เป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา เป็นการสร้างความเอื้ออาทรกันในหมู่สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ โดยถือว่าการทำบุญให้ทานนี้เป็นเครื่องลดความเห็นแก่ตัวลง จัดบริเวณศาลหลักเมือง ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ถือเป็นการเมตตาแก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำสิ่งของต่างๆ ที่ผู้ตายใช้สอย มาแจกแก่ผู้ยากจน มีการแสดงต่างๆ ได้แก่ การแสดงงิ้ว  ระบำเอ็งกอ เชิดสิงโต แห่มังกร เป็นต้น
ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ   ที่ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยจะถือเอา วันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นวันใส่บาตร ในสมัยก่อนโน้น ยังไม่มีถนนหนทาง บ้านเรือนราษฎรจะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ และใช้แม่น้ำโดยยานพาหนะทางเรือ เป็นเส้นทางคมนาคมไปมาหาสู่กันและเช่นเดียวกันพระสงฆ์ ก็จะใช้เรือพายบิณฑบาต ไปรับอาหารจากชาวบ้านซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งในช่วงเวลานั้นจึงไม่มีการเดินบิณฑบาต จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุ 80 ปีกว่า บอกว่าที่จัดให้มีการตักบาตรกลางน้ำขึ้น โดยนิมนต์พระสงฆ์ทั้งหมดพายเรือมารับอาหารนั้น สาเหตุเนื่องมาจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ชาวบ้านไม่ว่างไปทำบุญที่วัดเพราะติดฤดูกาลทำนา ชาวบ้านจะไปทำนาโดยไปสร้างขนำโรงนาเป็นที่พักชั่วคราว ทำนาเสร็จจึงจะกลับมาบ้าน จึงว่างเว้นจากการทำบุญตักบาตรไป เมื่อว่างจากการทำนาจึงนิมนต์พระมารับบิณฑบาตพร้อมกัน โดยจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้ง อาหารสดมาตักบาตรกัน เรียงรายไปตลอดลำน้ำ ปัจจุบัน มีกิจกรรม ชักพระ ทอดผ้าป่า เล่นเพลงเรือ เพลงพื้นบ้าน และร่วมปิดทองไหว้พระหลวงพ่อสีแสง พร้อมชมระฆังโบราณอายุกว่า 100 ปี
8.ประเด็นเรื่อง สังคมและวัฒนธรรม
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวลาวครั่ง : ชาวลาวครั่งมีความเชื่อในเรื่องขวัญ-ผี-วิญญาณ และคำสอนของพุทธศาสนา   การพูดภาษาลาวครั่งของสมาชิก ซึ่งยังคงใช้ติดต่อสื่อสารกันในชุมชน  การสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมการเลี้ยงผีเจ้านายการทำบุญกลางบ้าน  และการแห่ธงสงกรานต์  ซึ่งมีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงการฟื้นฟูการทอผ้าซิ่น  ตีนจกสีแดง  และผ้าขาวม้า  5 สี  อันเป็นหัตถกรรมที่มีลักษณะของลาวครั่ง  ลักษณะทางสังคมของชาวลาวครางบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐิน  ประกอบด้วย  ระบบครอบครัวและเครือญาติ  พบว่า ในอดีตลักษณะครอบครัวของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐิน โดยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย  มีการสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ด้วนกันเป็นกลุ่มๆ  โดยส่วนใหญ่ครอบครัวลาวครั่งจะได้สมาชิกใหม่จากการแต่งงานของลูกสาว  ซึ่งลูกสาวแต่งงานลูกเขยต้องเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านของภรรยา
ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย  ชาวลาวครั่งให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน  การจัดงานศพนั้นจะแยกประเภทศพไว้ 2 ประเภท  คือ  ศพที่ตายตามปกติซึ่งไปตามอายุขัย  และศพที่ตายไม่ดีคือ ตายด้วยอุบัติเหตุ ชาวลาวครั่งจะไม่นำศพเข้าบ้าน แต่จะทำพิธีฝังหรือเผาให้เสร็จในวันเดียวกัน
9.ประเด็นเรื่อง การท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) : ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง เป็นสถานที่ที่สวยงาม ควรค่าแก่การแวะชม
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ภายในนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีน และแสดงประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรม ภายในตัวมังกรใช้สื่อจัดแสดงที่ทันสมัย เช่น ภาพยนตร์ ระบบโสตทัศนูปกรณ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แสง เสียง หุ่นจำลอง พร้อมเทปบรรยายเป็นภาษาไทย จีน และอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างครบครัน เป็นต้นว่า มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน อีกทั้งสอดแทรกคุณธรรมสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่บรรพบุรุษชาวจีนยึดถือ และได้ปรากฏให้เห็นตลอดเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้นำเอาความรู้และคุณธรรมไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตในโอกาสต่อไป
หอคอยบรรหารแจ่มใส : เป็นหอคอยชมวิวแห่งแรก และสูงที่สุดในประเทศไทยมองเห็นโดดเด่นอยู่กลางเมือง การขึ้นเที่ยวชมหอคอย จะมีจุดแวะพักชมวิว 4 ชั้น บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเรื่องราวน่ารู้ของของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด บริเวณสวนประดับด้วยดอกไม้นานาพันธุ์  สวนปาล์ม สวนน้ำพุ ธารน้ำตก สไลเดอร์ สนามเด็กเล่น เพลิดเพลินกับลีลาของน้ำพุดนตรี ที่โลดเล่นตามจังหวะของดนตรี ชั้นที่ 1 เป็นที่จำหน่ายบัตรและของที่ระลึก  ชั้นที่ 2 เป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มอาหารว่างและจุดนั่งชมสวน ชั้นที่ 3 เป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกและจุดชมตัวเมือง  ชั้นที่ 4 เป็นจุดชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยรอบ มีกล้องส่องทางไกลบริการ ผนังห้องแสดงภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
ควาย....กับ...คน ผูกพันกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร จนสามารถพูดได้ว่า.... ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า และตายตามอายุขัย 
             แต่ปัจจุบัน...หลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย...
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  ที่จะทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมพบกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบย้อนยุค พบกับหมู่บ้านชาวนา ลานนวดข้าว คอกควาย และการแสดงควาย อันมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การทำนาในแบบโบราณที่ยังใช้แรงงานจากควายและอุปกรณ์การทำนาแบบโบราณ  การโชว์ความสามารถพิเศษของควาย มีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจ เช่น เรือนแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทยและการใช้สมุนไพรเรือนโหราศาสตร์ มีลานแสดงควายนอกจากนี้ยังมีพื้นที่จำลองในการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากจะเรียกว่าหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยแห่งนี้ เป็นแหล่งจำลองวิถีชีวิตเกษตรกรชาวไทยก็คงจะไม่ผิดนัก
บึงฉวาก
เมื่อพูดถึงไปเที่ยว บึงฉวาก ใครก็คงนึกถึงอุโมงค์ปลาน้ำจืดกับปลาหายากที่น่าหาโอกาสไปดูกัน แต่ถ้าได้ไปชมจะยิ่งประทับใจในบรรยากาศแวดล้อมที่ได้รับการออกแบบและดูแลรักษาให้สะอาดสะอ้านงดงามเป็นระเบียบ ทำให้รู้สึกสบายตาสบายใจเหมาะจะใช้สำหรับพักผ่อนร่วมกันกับครอบครัว
บึงฉวากมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ไม่ได้มีแต่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำอย่างที่รู้จักกันเท่านั้น แต่ยังมีทั้งอุทยานผักพื้นบ้าน กับสวนสัตว์ขนาดย่อม มีกรงนกใหญ่ที่เลี้ยงนกไว้ในสภาพธรรมชาติและให้เราเข้าไปเดินชมกันในกรงเลย ทั้งหลายทั้งปวงนี่ก็จะตั้งเรียงรายอยู่บริเวณริมบึง ส่วนที่เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่จะพาไปชมก่อนนี่จะอยู่ด้านในสุด
ริมบึงฉวากมีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายตลอด ในบริเวณบึงเต็มไปด้วยดอกบัวสีแดงและชมพู ในช่วงตอนเช้าบัวจะบานสวยงาม นกเป็ดแดงฝูงใหญ่จับกลุ่มอยู่ตามกอบัวในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมและนกจะทยอยกลับในช่วงเดือนเมษายน  มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน มีบริการขี่จักรยานน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถขออนุญาตกางเต็นท์พักแรมริมบึง  ปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาบึงฉวากให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี  ภายในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำรวบรวมพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาสวยงามและพันธุ์ปลาหายากเอาไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา แบ่งเป็น 3 อาคาร
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม  ทั้งพันธุ์ปลาไทย  และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า  50  ชนิด
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงาม ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลาได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรกของประเทศไทย
อาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 3 (สวรรค์แห่งโลกใต้ทะเล) จัดแสดงพันธุ์ปลาทะเลมากมายหลายชนิดให้ได้ชมกัน มีตู้ปลาขนาดใหญ่ และตู้ปลารูปทรงแปลกตา เพื่อคอยบริการนักท่องเที่ยวให้ได้ชื่นชมกับความสวยงาม และบรรยากาศของโลกใต้ท้องทะเล รวมทั้งตื่นตาตื่นใจกับอุโมงค์ปลา
ตลาดร้อยปีสามชุก
เมื่อถามถึงตลาดสามชุด ความรู้สึกแรกที่ประทับใจคือ บรรยากาศเก่าๆ ซึ่งยังคงอบอวล ตัวตลาดนั้นกว้างใหญ่กว่าตลาดอื่นๆ ห้องแถวไม้สูงสองชั้นเรียงรายยาวเหยียดติดแม่น้ำสุพรรณบุรีเกือบทุกห้อง มีลายฉลุประดับประดาไว้อย่างงดงาม ที่สำคัญคือ สภาพทั่วไปในบริเวณตลาดยังสะอาด น่าเดิน อีกทั้งยังมีสีสัน มีชีวิตชีวา สังเกตได้จากมีชาวบ้านเดินผ่านไปมาเป็นระยะๆ ไม่เงียบเหงา
ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้า ขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น